ปั้มน้ำร้อนสำหรับส่งคอนเดนเสทแรงขึ้น (The BOOSTER Condensate PUMP)

โดยใช้แรงดันลมอัด “กดสวิตซ์เพื่อประหยัด Switch on to Save”ปั้มน้ำร้อนประหยัดพลังงานบอยเลอร์

คุณลักษณะเด่น 

  • วัสดุเป็นสเตนเลสป้องกันการผุกร่อน และมีอายุการใช้งานยาวนาน
  • ปั้มคอนเดนเสทได้ปกติ 2000 กก/ชม สามารถเพิ่มได้ถึง 3000 กก/ชม 
  • ออกแบบได้สัดส่วนตามหลักวิศวกรรม  กระทัดรัด พร้อมติดตั้งใช้งาน 
  • ทำงานได้โดยแรงลมอัดโดยไม่ต้องใช้สตีม
  • มีหลอดแก้วดูระดับน้ำในถังรับน้ำ 
  • มีตัวป้องกันกรณีโวลท์ไม่คงที่ 
  • สามารถติดตั้งได้ในห้องผลิตเนื่องจากไม่เป็นสนิม
  • เสริมอุปกรณ์เตือนการทำงานด้วยกริ่งหรือไซเรน  ติดตั้งตัววัดปริมาณน้ำร้อน  เป็นต้น 

     

ประโยชน์ที่ได้รับ 

  1. ให้การประหยัดพลังงานในรูปเชื้อเพลิง น้ำ และ คุณภาพในการทำงานของระบบไอน้ำโดยรวม
  2. ประหยัดเงินค่าเชื้อเพลิงได้ 140 บาท ต่อ 1 ตันน้ำร้อน หรือถ้าจะยกตัวอย่าง หากราคาน้ำมันดีเซล ลิตรละ30 บาท ควบคุมถังฟีดโดยนำกลับ 90 %อุณหภูมิ   โดยเครื่องกำเนิดไอน้ำขนาด  1 ตัน/ชม  ทำงาน 8 ชม ปีละ300 วัน จะประหยัดได้ปีละ 350 000 บาท 
  3. ประหยัดเงินค่าบำบัดน้ำบอยเลอร์   60   บาท/ม3  ทำให้ประหยัดน้ำใน 1 ปีได้ 140 000 บาท   เมื่อรวมการประหยัดข้อ2 และข้อ3 ทำให้มีจุดคุ้มทุนได้ ในระยะเวลา 1  ปี 
  4. ป้องกันการเกิดWater Hammer เนื่องจากจัดการระบบไอน้ำได้ถูกต้อง Green Factory 
  5. โรงงานสีเขียว อนุรักษ์พลังงานและลดโลกร้อน

   การนำไปใช้งาน

  • โรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปที่ต้องการลดต้นทุนเชื้อเพลิงบอยเลอร์ และสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม 
  • โรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปทีมีปัญหาเรื่องเครื่องไม่ร้อนหรือต้องการลดเวลาในการผลิตหรือไม่สามารถส่งคอนเดนเสทกลับได้ 
  • โรงงานอาหารและเครื่องดื่ม  
  • โรงงานสุราและเบียร์ 
  • โรงงานยาและเวชภัณฑ์
  • โรงงานวัตถุไวไฟ (ต้องเปลี่ยน BVA เป็นหัวขับลมแทน Solenoid Valve) 

 

 

• 1.ติดตั้งในบ่อคอนกรีต4เหลี่ยม ขนาดความกว้างและความยาว 2 เมตรโดยมีความลึกตั้งแต่ 1.5-2 เมตร ขึ้นอยู่กับระดับของท่อคอนเดนเสทหลัก เพื่อให้ได้การระบายคอนเดนเสทที่ดีจะต้องเดินท่อให้มีการลดระดับไปยัง Receiver เพื่อไม่ให้คอนเดนเสทตกค้างในท่อ ลดการผุกร่อนหรือใช้ท่อสเตนเลสแทน นอกจากนี้ในบ่อจะมีจุดสำหรับติดตั้ง Submerge Pumpสำหรับกรณีน้ำล้นหรือน้ำรั่วไว้ด้วย

• 2.ติดตั้งบนพื้นปกติ ถ้าหากท่อที่รวมการระบายคอนเดนเสทจากsteam trap อยู่ต่ำกว่า และไม่มีพื้นที่ขุดบ่อ วิธีนี้จะมีน้ำขังในท่อทำให้เกิดสนิมจากท่อเหล็ก ควรใช้ท่อสเตนเลสแทน และจะต้องหมั่นตรวจเชควาล์วและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาวะปกติ
ดังรูป

การเดินเครื่อง ก่อนและหลัง

• ตรวจเชคระบบท่อคอนเดนเสทขาเข้า พร้อมนำคอนเดนเสทเข้าใน Receiver ท่อระบายไอ ท่อเดรน ระบบวาล์วในสภาะปกติเปิดและปิด
• ตรวจเชคระบบไฟฟ้าและเบรกเกอร์แสดงผลปกติ ทดสอบฟังก์ชั่นการทำงานสภาวะพร้อม
• ตรวจเชคความดันลมในท่อจ่ายอยู่ระหว่าง 5-7 Barg และปรับตั้งRegulator 2-4 Bar
• เมื่อพร้อมสามารถเดินเครื่องด้วย Auto Mode / Manual
• หลังการเดินเครื่อง ให้ปิดสวิชต์ และ เบรกเกอร์

คำแนะนำเพิ่มเติม

1.ในกรณีที่จำเป็นต้องยกระดับคอนเดนเสทสูงๆ ตั้งแต่ 5 เมตรขึ้นไป ควรจะติดตั้งเชควาล์วระหว่างทางในตำแหน่งที่มีการย้อนกลับของคอนเดนเสท ป้องกันการเกิดการกระแทกของน้ำร้อนก่อนและหลัง นอกจากนี้การเดินท่อทิ้งระดับกลับไปยังFeed Tank หรือ Condensate Tank จะทำไม่มีน้ำขังในท่อ ไม่เกิดเป็นน้ำสนิม
2.ในระหว่างท่อคอนเดนเสทอาจมีการติดตั้งวาล์ว เชควาล์ว โปรดตรวจสอบสภาวะปกติเปิด ทิคทางการไหลให้ครบทุกตัว และท่อดังกล่าวต้องหุ้มฉนวนเรียบร้อย แนะนำให้ทำการ Check list และ ติดป้ายเตือนไว้ล่วงหน้า
3.ควรติดตั้งมิเตอร์วัดอัตราการไหลน้ำร้อน เพื่อที่จะวัดปริมาณคอนเดนเสทในระหว่างวัน

การบำรุงรักษา

โดยปกติไม่มีชิ้นส่วนที่จะต้องเปลี่ยนตามระยะ แต่ต้องตรวจพื้นฐาน ฟังเสียงสภาะการทำงานของปั้มตามจังหวะ ตรวจรอยรั่ว น้ำล้น เป็นต้น